วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนะวิธีกำหนดลมหายใจ เพื่อสุขภาพสมองและหัวใจที่ดี

แนะวิธีกำหนดลมหายใจ เพื่อสุขภาพสมองและหัวใจที่ดี

เคยสังเกตตัวเองบ้างไหมคะว่า ทุกวันนี้เราหายใจสั้นและถี่จนเป็นนิสัยทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์มีประสิทธิภาพลดลง


การหายใจมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร?
เหตุผลที่สำคัญของการหายใจมี 2 ประการด้วยกันคือ ประการแรก การหายใจเป็นวิธีที่จะนำออกซิเจนเข้าไปในร่างกายของเราและเข้าอวัยวะไปสู่อวัยวะต่างๆ ช่วยให้ทำงานประสานกันได้ดี ประการที่สอง การหายใจเป็นวิธีที่จะนำออกซิเจนเข้าไปในร่างกายเพื่อขจัดของเสียหรือสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย และสั่งจิตใต้สำนึกให้ปรับอากาศหรือ"ออกซิเจน"ให้เป็นพลังปราณซึ่งเป็นพลังแห่งชีวิต
ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการหายใจ ทางโยคะถือว่าสำคัญมาก เพราะเมื่อการหายใจเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของคนจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เช่น เมื่อผู้ใดมีอารมณ์โกรธเกิดขึ้น จะบังคับให้อัตราการหายใจถี่ขึ้น และเมื่อไรที่เรามีความสุข สบายใจ อัตราการหายใจจะช้าลงและจิตใจเกิดความสงบสุขเยือกเย็นตามไปด้วย
การกำหนดลมหายใจ โดยการฝึกสูดลมหายใจแบบโยคะ ฝึกวิธีบังคับปอด วิธีขยายปอด รู้จักวิธีหายใจที่ถูกต้อง โดยเริ่มที่หายใจเข้าสั้นกว่าการหายใจออก เป็น 1:2 ถ้าหายใจเข้า 7 วินาที ควรจะหายใจออกนาน 14 วินาที เพื่อไล่อากาศที่ไม่บริสุทธิ์ที่ค้างอยู่ในปอดให้ออกไปมากที่สุด
ถ้าเรามีการหายใจที่ถูกต้องเราสามารถมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อารมณ์ที่ผ่อนคลาย คนเริ่มฝึกหายใจ ระยะแรก จะมี ปัญหาการกลั้นหายใจ ปัญหาเรื่องการหายใจ ช่วงระยะเวลาค่อนข้างสั้น แต่ถ้าผู้ฝึกควบคุมลมหายใจได้ถูกต้อง สามารถกลั้นลมหายใจได้หายใจได้ยาวขึ้น จะทำให้ปอดเกิดความแข็งแรงและยืดยุ่น ก็จะสามารถเก็บกักลมได้มาก ก็จะทำให้ปอดประสิทธิภาพที่สูงสุดก็ส่งผลดีถึงหัวใจถึงสมองตามมา
เตรียมความพร้อมการกำหนดลมหายใจ
1.นั่งหลังตรง กับพื้น ให้กระดูกสันหลังตั้งตรง นั่งบนพื้น หนือเก้าอี้ หรือยืนก็ได้
2.วางมือทั้ง 2 ข้างวางที่ท้อง หรือที่เรียกว่า กระบังลม เพื่อที่เราจะได้รับรู้เวลา หายใจเข้า กระดูกซี่โครงจะขยายออก(ท้องพอง) หายใจออก กระดูกซี่โครงจะหุบเข้า(ท้องแพบ)
3.กำหนดลมหายใจนับเลขเริ่มจากสั้นไปยาว (นับเลขไว้ในใจ) หายใจเข้า 1 2 3 หายใจออก 1 2 3เข้า1 2 3 4 ออก 1 2 3 4 เข้า1 2 3 4 5 ออก 1 2 3 4 5เข้า1 2 3 4 5 6 7 8 9 ออก 1 2 3 4 5 6 7 8 9 (แล้วค่อยๆเปิดเปลือกตา)
คำแนะนำ ควรฝึกวันละ2-5 นาที/วัน และควรปล่อยให้ท้องว่างก่อน 1 ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น